วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


แนวทางการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร
บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง

1. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2.    วิเคราะห์สาระ   สาระที่ 3   เศรษฐศาสตร์  มาตรฐานและมาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้น ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภคการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
3.   วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสาระ /มาตรฐาน /มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับหลักแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง
4.    จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง รายปี (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / 2 และ 3)
5.     กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และสาระการเรียนรู้
6.     จัดทำหน่วยการเรียนรู้ บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
7.     จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้


หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่  3 เศรษฐศาสตร์

มาตรฐานที่ ส 3.1 :  เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานช่วงชั้นที่ 1  เข้าใจระบบวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

(ร่าง) มาตรฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแยกตามชั้นปี
ช่วงชั้นที่ 1  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3)


                           ชั้นป.1 

ชั้นป.2 
ชั้นป.3 
1.   รู้จักช่วยเหลือตนเอง
2 . ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด 
3.  รู้จักการออม
4.  รู้จักแบ่งปันสิ่งของที่มีให้กับผู้อื่น
1. ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองและครอบครัวอย่างมีความรับผิดชอบ
 2. รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
 3.  มีวินัยในการใช้จ่าย
 4. รู้จักแบ่งปันสิ่งของและช่วยเหลือ ผู้อื่น
 5. ปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีความสุข
1.รู้จักช่วยเหลือครอบครัวและชุมชน
2.รู้จักเลือกใช้ทรัพยากร
 อย่างประหยัดและคุ้มค่า
3. วิเคราะห์รายรับ รายจ่ายของตนเอง
4.  รู้จักเสียสละแบ่งปันทรัพยากรที่มีเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
 5.  ชื่นชมต่อการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง